ตำนานรามเกียรติ์

ตำนานรามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีของไทยที่สำคัญเรื่องหนึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายเนื้อเรื่องและสำนวนกลอนในเรื่อง รามเกียรติ์มีความไพเราะ มีคติสอนและแง่คิดในด้านต่างๆ อยู่เป็นอันมาก สอดแทรกเอาไว้ตลอดทั้งเรื่อง ตามหลักนิยมของอินเดียในเนื้อเรื่องและหลักนิยมของไทยในสำนวนกลอน บทละครเรื่องรามเกียรติ์ได้วาดเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังไว้ที่ศาลารายรอบพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม นิยมนำมาแสดงเป็นโขน เขียนขึ้นมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าฯ จำนวน 178 ห้อง เขียนโดยจิตรกรที่มีฝีมือยอดเยี่ยมของไทยเป็นภาพวิจิตรงดงาม ทรงคุณค่าทางศิลปกรรมเป็นอย่างยิ่ง โดยมีการซ่อมแซมหลายครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2375, พ.ศ. 2425, พ.ศ. 2475 และครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2525  นอกจากเนื้อเรื่อง รามเกียรติ์จากห้อง 1 ถึงห้อง 178 ยังมีเรื่องการอวตารของพระนารายณ์ในปางก่อนๆ อันเป็นที่มาของเรื่อง รามเกียรติ์ อีกหลายปางคือนรสิงหาวตาร ซึ่งเป็นปางที่สี่ วราหาวคาร ซึ่งเป็นปางที่ก่อให้เกิดวงศ์พระนารายณ์ขึ้นที่โลกมนุษย์คือ ท้าวอโนมาตัน โอรสพระนารายณ ์ ที่เกิดจากองค์พระนารายณ์เองให้ครองกรุงศรีอยุธยาที่ พระอิศวร โปรดให้ พระอินทร์ ลงมาสร้างให้หลานปู่ของ ท้าวอโนมาตัน คือ ท้าวทศรถ ผู้เป็นพระราชบิดาของพระราม

ตำนานรามเกียรติ์ กำเนิดรามเกียรติ์ เปิดประวัติตัวละครรามเกียรติ์

รามเกียรติ์คืออะไร ยังคงเป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายคนต่างก็ต้องการคำตอบเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งตำนานที่อยู่คู่คนไทยมานานแสนนาน กำเนิดเรื่องรามเกียรติ์นั้นเดิมเป็นเรื่องของชาวอินเดียเรียกตามภาษาของชนชาตินั้นว่า รามายณะ ชาวอินเดียโดยเฉพาะที่นับถือพระวิษณุ ถือว่า รามายณะนี้เป็นคัมภีร์สำคัญเท่ากันเป็นคัมภีร์ศาสนาใครได้อ่านถือว่าได้บุญ กุศลได้ขึ้นสวรรค์ เมื่อราวประมาณ พ.ศ. 1900 ชาวอินเดียตอนใต้ได้เข้ามาทำการค้าขายและตั้งถิ่นฐานทางฝั่งตะวันออกแห่งมหาสมุทร พวกนี้จึงได้นำวัฒนธรรมมาใช้ในหมู่เกาะใต้ ผู้แต่งเรื่องรามายณะนี้ เป็นฤาษีชื่อ วาลมิกี ได้แต่งเรื่องนี้เมื่อประมาณ 2400 ปีเศษมาแล้ว ตามตำนานว่าพระวาลมิกีได้ฟังเรื่องพระรามายณะจากพระนารทต่อมาพระวาลมิกีได้ไปที่ฝั่งแม่น้ำกับนางตมสา ซึ่งอยู่ใกล้แม่น้ำคงคาได้เห็นนางนกกระเรียนตัวหนึ่งร้องคร่ำครวญถึงตัวผู้ซึ่งถูกพรานยิงตาย พระวาลมิกีเห็นเช่นนั้นก็อุทานออกมาด้วยความสลดใจเสียงที่อุทานมานั้นรู้จะอยู่ในคณะฉันท์ ใช้สำหรับขับได้จึงได้นำทำนองนี้ซึ่งพบใหม่มาแต่งเรื่องรามายณะและเรียกฉันท์นี้ว่า โศลก เพราะฉัทน์นี้เกิดจากความสลดใจ เรื่องรามายณะนี้ เป็นเรื่องยาวประกอบด้วยฉันท์ถึง 24000 โศลก แบ่งออกเป็นตอนๆเรียกว่า กัณฑ์ รวมทั้งหมด 7 กัณฑ์ คือ พาล อโยธยากัณฑ์ อรัณยกัณฑ์ กีษกินธา กัณฑ์ สุนทรกัณฑ์ ยุกธ-กัณฑ์ และอุตตรกัณฑ์ เรื่องรามเกียริ์มีบุคคลสำคัญในเรื่องคือ พระราม นางสีดา และทศกัณฐ์ นักปราชญ์บางท่านเชื่อว่าเป็นเรื่องที่มีมานานกว่า 2400 ปีแต่เป็นเรื่องที่กระจัดกระจายอยู่และวาลมิกีได้รวบรวมขึ้นมาใหม่

เนื้อเรื่องรามเกียรติ์โดยย่อ ทำความรู้จักกับตัวละครรามเกียรติ์ให้มากขึ้น

ตำนานรามเกียรติ์

รามเกียรติ์เป็นละครโทรทัศน์ของไทย ที่สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 2013 กล่าวถึงสงครามครั้งสำคัญในวรรณกรรมเรื่องยิ่งใหญ่ รามายณะ ที่กล่าวการยกทัพของพระรามกับพญาทศกัณฐ์เพื่อชิงเอานางสีดาคืนมา นำแสดงโดย กากัน มาลิค, เนหา ซากัม ออกอากาศทางช่องซีหนัง โดยยจะทำการออกอากาศทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 19.00 น. เริ่มออกอากาศตอนแรกในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560 ปัจจุบันเปลี่ยนเวลาออกอากาศเป็นเวลา 17: 00 น. เริ่มตั้งแต่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป

เหตุเกิดเมื่อพระราม พระลักษมณ์ และนางสีดาออกเดินป่าแล้วทศกัณฐ์ก็มาลักพานางสีดาไปตามคำยุยงของนางสำมนักขาหลังจากนั้น ทหารเอกทั้งห้า จึงเกิดตามกันไป ได้แก่ หนุมานเกิดจากเหล่าศาสตราวุธของพระอิศวรไปอยู่ในครรภ์นางสวาหะ สุครีพเกิดจากพระอาทิตย์แล้วโดนคำสาปฤๅษีที่เป็นพ่อของนางสวาหะ องคตเป็นลูกของพาลีที่เป็นหลานของสุครีพ ชมพูพาน เกิดจากการชุบเลี้ยงของพระอินทร์ นิลพัทเป็นลูกของพระกาฬ ฝ่ายพระรามและฝ่ายทศกัณฐ์ได้ทำศึกชิงนางสีดา จนไพร่พลฝ่ายยักษ์ล้มตายเป็นจำนวนมากและสุดท้ายทศกัณฐ์เองก็ถูกพระรามฆ่าตายเช่นเดียวกัน

รามเกียรติ์ในประเทศไทย ตำนานตัวละครรามเกียรติ์ของไทย

ตามหลักฐานที่พอจะอนุมานได้ปรากฎว่าเรื่องรามเกียรติ์หรือรามายณะได้เข้ามายังประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 900 ปีล่วงมาแล้ว เพราะที่ปราสาทหินเมืองพิมายมีภาพสลักศิลาเรื่องรามเกียรติ์ ส่วนในสมัยสุโขทันก็มีพูดถึงถ้ำพระราม ถ้ำสีดา ในจารึกของพ่อขุนรามคำแหง แต่เรื่องที่ปรากฏเป็นวรรณคดีนั้น เดินเราจะเคยมีหรือไม่ ไม่มีหลักฐานแน่ชัด มีคำฉันท์อยู่เรื่องหนึ่ง ชื่อ ราชาพิลาป คำฉันท์(นิราศสีดา) ผู้แต่งไม่ปรากฏนาม เป็นเรื่องที่แต่งสมัยสมเด็จพระนารยณ์มหาราช พรรณนาความคร่ำครวญของพระราม ตอนออกเดินทางเที่ยวตามหานางสีดา (เรื่องนี้นับเป็นรามเกียรติ์เรื่องเดียวที่เกิดขึ้นก่อนรามเกียรติ์ฉบับพระเจ้ากรุงธนฯ และตกทอดมาจนถึงสมัยปัจจุบัน) ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรงพระราชนิพนธ์สำหรับให้ละครหลวงเล่น ปัจจุบันมีอยู่ไม่ครบ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่อง รามเกียรติ์ ซึ่งมีมาแต่เดิมให้ครบถ้วน สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ เพื่อให้ละครหลวงเล่น ได้ทรงเลือกมาเป็นตอนๆ รามเกียรติ์ นี้จึงมีสำนวนกลอนที่ไพเราะที่สุด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ โดยดัดแปลงจากพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ เพื่อใช้ในการเล่นโขนซึ่งจะมีอยู่เพียงบางตอนที่คัดเลือกไว้เท่านั้น เช่น ตอนนางลอย ตอนหักคอช้างเอราวัณ ตอนสีดาลุยไฟ เป็นต้นนั่นเอง

เครดิต : themysteriousth.com

ติดตามเรื่องราวอื่นๆ  : LINE : @Ufa365s